ก่อนที่จะแนะนำ ร้านข้าวมันไก่ ร้านนี้ คงต้องมาทำความรู้จักกับ ที่มาที่ไปของชื่อร้านนี้ ซะก่อนนะครับ " ข้าวมันไก่ เบตง "
แน่นอนครับ ข้าวมันไก่ ร้านนี้ คงจะต้องเป็นสูตรของการทำ ข้าวมัน หรือ ไก่ตอน หรือ น้ำราด หรือ น้ำจิ้ม แบบ เบตง แน่ๆครับ
แต่ " เบตง " คืออะไร ..... เรามาทำความรู้จักกันซักนิดนึง นะครับ
" เบตง " เป็นอำเภอนึงในจังหวัดยะลา ครับ .. เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย มีรูปร่างลักษณะ คล้าย หัวหอก ที่ยื่นเข้าไปใน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในแนวเททีอกเขา สันการาคีรี
เบตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ มาห อยู่ห่างจาก ตัวเมืองยะลา ถึง 140 ก.ม.
ภูมิประเทศของ เบตง เป็นภูเขาสูง จึงทำให้มีอากาศดี และ มีหมอกตลอดปี
จนมีคำขวัญประจำอำเภอ ว่า " เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน "
เดิมที " อำเภอ เบตง " มีชื่อว่า " ยะรม "
ซึ่ง " ยะรม " เป็นภาษา มาลายู ที่มีความหมายว่า " เข็บเย็บผ้า "
ซึ่ง " ยะรม " เป็นภาษา มาลายู ที่มีความหมายว่า " เข็บเย็บผ้า "
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2473 จึงมีการเปลี่ยนชื่อ จาก " ยะรม " เป็น " เบตง "
" เบตง " เป็นคำมาจาก ภาษา มาลายู " Buluh Betong " หมายถึง ไม้ไผ่ขนาดใหญ่ (ไผ่ตง) ซึ่งเป็นพันธ์ไม่ไผ่ ที่มีอยู่มากในในท้องถิ่นนี้ และ ต้นไผ่ตง จึงถูกเลือกให้เป็น สัญญลักษณ์อย่างนึง ของ อำเภอ เบตง
ในอดีต การเดินทางเข้าออกระหว่าง จังหวัด กับ อำเภอเบตง ค่อนข้างลำบาก .. จึงทำให้การติดต่อ ระหว่างประชาชน กับหน่วยงาน ราชการของจังหวัด ค่อนข้างติดขัด และ ไม่สดวก เพราะการต้องเดินทางข้ามเขา และ มีระยะทางไกล .... จึงทำให้ อำเภอเบตง มีหน่วยงานต่างๆ ของราชการ ที่ มีอำนาจไม่แตกต่างกับ หน่วยงานราชการของ จังหวัด และ เป็นอำเภอเดียวในประเทศไทย ที่ ใช้ทะเบียนรถ (ป้ายทะเบียน) เป็น ชื่อ อำเภอ แทนชื่อ จังหวัด
" เบตง " เป็นคำมาจาก ภาษา มาลายู " Buluh Betong " หมายถึง ไม้ไผ่ขนาดใหญ่ (ไผ่ตง) ซึ่งเป็นพันธ์ไม่ไผ่ ที่มีอยู่มากในในท้องถิ่นนี้ และ ต้นไผ่ตง จึงถูกเลือกให้เป็น สัญญลักษณ์อย่างนึง ของ อำเภอ เบตง
ในอดีต การเดินทางเข้าออกระหว่าง จังหวัด กับ อำเภอเบตง ค่อนข้างลำบาก .. จึงทำให้การติดต่อ ระหว่างประชาชน กับหน่วยงาน ราชการของจังหวัด ค่อนข้างติดขัด และ ไม่สดวก เพราะการต้องเดินทางข้ามเขา และ มีระยะทางไกล .... จึงทำให้ อำเภอเบตง มีหน่วยงานต่างๆ ของราชการ ที่ มีอำนาจไม่แตกต่างกับ หน่วยงานราชการของ จังหวัด และ เป็นอำเภอเดียวในประเทศไทย ที่ ใช้ทะเบียนรถ (ป้ายทะเบียน) เป็น ชื่อ อำเภอ แทนชื่อ จังหวัด
อ่านมาซักพักแล้ว ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ข้าวมันไก่เบตง เลยใช่มั้ยครับ
ข้าวมันไก่ ที่เบตง แตกต่างกับ ข้าวมันไก่ที่อื่นอย่างไร ?
แล้วทำไม ต้อง ข้าวมันไก่ เบตง ?
ประชากร ที่อาศัย อยู่ในอำเภอเบตง เมื่อ พ.ศ. 2555 มีเพียง 61,080 คนเท่านั้นครับ
โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็น ชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งมี บรรพบุรุษ ที่เป็น ชาวจีน ที่ส่วนใหญ่ มีเชื้อสาย ไหหลำ และ ฮ้กเกี้ยน
นี่แหละครับ ... เริ่มเกี่ยวข้องกับ ข้าวมันไก่แล้วครับ
การหุงข้าวมัน แบบ ชาวไหหลำ และ ฮ้กเกี้ยน มีรูปแบบ ที่คล้ายคลีงกันมาก และ เป็นที่นิยมในการ นำเอามาทานคู่กันกับ ไก่ตอน
ซึ่ง ไก่ตอน ก็เป็นอีกหนึ่งประเภทอาหาร ที่ชาวไหหลำ ได้รับการยอมรับและยกย่อง จากนักชิม นักทาน ทั่วโลกว่า เป็น ไก่ตอนที่อร่อยแบบหาตัวจับยาก
แต่ ไก่ตอน เบตง แตกต่างกับ ไก่ตอน ในภูมิภาคอื่นๆ ครับ
อันเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นภูเขา ทำให้การเดินทางติดต่อในอดีต ไม่สดวก
ทำให้ การเลือกไก่ เพื่อทำไก่ตอน ของชาวเบตง จึงนิยมใช้ ไก่พันธ์ท้องถิ่น ที่ เลี้ยงด้วยวิธีแบบ ธรรมชาติ และ มีการให้อาหาร จากพืชพันธ์ธรรมชาติ ซึ่งมีผลทำให้ไก่แข็งแรง และไม่มี ไขมัน ใต้หนังมาก เหมือนไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารเสิรม ในโรงเลี้ยง
อีกหนึ่ง สัญญลักษณ์ ที่แตกต่าง ของ ข้าวมันไก่แบบเบตง ก็คือ " น้ำราดข้าวมันไก่ "
นอกเหนือจากการทานข้าวมันไก่ ที่ใช้น้ำจิ้มที่ทำจากเต้าเจี้ยว แบบ ชาวไหหลำแล้ว .. ข้าวมันไก่เบตง ยังมีน้ำราดข้าวบนข้าวมันไก่ อีกต่างหากครับ
น้ำราดที่ทำจากกระเทียมเจียว พริกแห้งคั่วกับงา และ ซีอิ๊วปรุงรส ... รสชาติกลมกล่อมออกหวานนำเค็ม แถมรสเผ็ดแอบแทรกมาเล็กน้อย ... อร่อยแปลกกว่าใครดีครับ
เอาหละครับ มาเข้าเรื่อง ร้านข้าวมันไก่เบตง ที่ผมจะแนะนำ ในวันนี้เลยดีกว่า ครับ
ผมได้รับการแนะนำ จากเพื่อนว่า มีร้านข้าวมันไก่แบบ เบตง อยู่บนต้น ถนนแม่โจ้ ห่างจากแยก โรงพยาบาล เทพปัญญา มานิดเดียวครับ (ฝั่งเดียวกันครับ)
เมื่อ 2-3 วันก่อนนี่เองครับ ตื่นเช้ามา ผมก็ขับรถ ไปรอตั้งแต่ร้านเปิดเลยครับ ร้านเข้าเปิดประมาณก่อน 7 โมงเช้าเล็กน้อยครับ
พอไปถึงร้าน คนยังว่าง ก็เลยได้ทักทายถามไถ่ เจ้าของร้าน ที่หน้าตาดูก็พอจะรู้ว่า แกเป็นคนไทยเชื้อสายจีนชาว เบตง แน่ๆเลยครับ ... เจ้าของร้านมาอยู่ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่มาเริ่มเรียน มหาวิทยาลัยที่แม่โจ้ เลยครับ .. แล้วหลังจากนั้นก็ตั้งรกราก โดยอาศัยประสพการณ์ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว โดยการเปิดกิจการ ทำ ข้าวมันไก่เบตง นี่แหละครับ
ผมไม่พูดพร่ำทำเพลง ครับ ... จัดแจงสั่ง ข้าวมันไก่ มาทานทันที ครับ
พอข้าวมันไก่ยกมา ไม่มี ซ้อสราดแบบ เบตง มาให้ ... ก็เลยต้องสอบถามหน่อยครับ ... เจ้าของบอกว่า แต่ก่อนทำน้ำราดแบเบตงทุกวัน แต่คนทางเหนือคงไม่ชอบรสชาติ เลยไม่ให้ราดลงบนข้าว .. ตอนหลังก็แยก ซ้อสราด .. ก็ไม่ค่อยมีคนชอบอีก กลับชอบเฉพาะน้ำจิ้มเต้าเจี้ยวแบบไหหลำ มากกว่า
แต่เมื่อทานแล้ว .... แค่น้ำจิ้ม .. ไก่ตอน และ ข้าวมัน ผมก็ว่า อร่อยเพียงพอเลยครับ
ไก่ตอน ......... ไก่คัดพันธ์ุ ที่ไม่ค่อยมีมันใต้หนังมากนัก หนังสวยเด้งอร่อย เนื้อนุ่ม สีขาวสวย
ข้าวมัน ......... ข้าวหุงสวยเป็นเม็ด แต่ในนุ่ม .. ไม่มันมาก หอมกลิ่นกระเทียมและขิง ลอยมาเลยครับ
น้ำจิ้ม เต้าเจี้ยว ......... น้ำจิ้มเต้าเจี้ยวแบบไหหลำ รสเค็มนำหน้า มีเปรี้ยวแทรกมาเล็กน้อย .. วางพริกขี้หนูซอย และ ขิงสับ ไว้ให้เลือกปรุงได้ตามชอบใจ
น้ำซุป .......... น้ำซุปใสแจ๋ว แต่รสชื่นใจเลยครับ ผมสั่งน้ำซุปเพิ่มมาืทานต่างน้ำเลยครับ
ร้านนี้นอกจากมี ข้าวมันไก่แล้ว ยังมี อาหารให้เลือกทานอีกหลายอย่างเลยครับ ทั้ง ข้าวหมกไก่ , เกาเหลา ฯลฯ
ลองแวะไปชิมกันดูนะครับ
แผนที่ร้านอาหาร ทั้งหมดที่ผมเขียนแนะนำ ไว้ใน " แนะนำ ร้านอาหารอร่อย โดยป๋าปึกส์ "
https://mapsengine.google.com/map/edit?authuser=0&hl=en&mid=zi7qOsZPeff0.kmjHpvkh5cmM
ป๋าปึกส์
30/05/2557
ขอแนะนำ ร้านโปรดของผู้เขียน
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2010/11/tengoku-1.html
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2010/11/tengoku-2.html
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2011/05/tengoku-de-cuisine.html
ติดตาม คอลัมน์ แนะนำร้านอาหารอร่อย โดย ป๋าปึกส์ ได้ทุกวันใน Facebook
ได้ที่ : http://www.facebook.com/SuebsaengSun